เมนู

[397] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่
ลงในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความ
ดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความ
เร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิง
ในปกติที่มนุษย์ต้องการ ฉันใด ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้น เหมือนกันแล
สติปัฏฐาน 4 นี้ ชื่อว่าเป็นหลักผูกใจของอริยสาวก เพื่อแก้ไขปกติ ชนิด
อาศัยบ้าน แก้ไขความดำริพล่านชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความกระวนกระวาย
ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจชนิดอาศัยบ้าน เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อ
ท่านิพพานให้แจ้ง.

ว่าด้วยจตุสติปัฏฐานเป็นต้น


[398] ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อยู่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ แต่อยู่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับ
เวทนา จงเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับจิต
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับธรรม
เธอยู่อมเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุด
ขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิ
อยู่ ย่อมเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปิติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วย
นามกาย เข้าตติยฌาน... ย่อมเข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ
ละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่.
[399] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง
ยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความ

ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกขันธ์
ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ
บ้าง ฯลฯ1 เธอย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอเนกประการ
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศเช่นนี้.
[400] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง
ยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความ
ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณของสัตว์ทั้งหลาย
มองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ2
ย่อมทราบชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมเช่นนี้.
[401] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง
ยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความ
ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริง
ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์ รู้ชัด
ตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ นี้ปฏิปทา
ให้ถึงที่ดับอาสวะ เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ
แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ. เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ
เสร็จแล้ว กิจอันเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[402] ภิกษุนั้น เป็นผู้อดทน คือ มีปกติอกกลั้นต่อความหนาว
ความร้อน ความหิว และความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด
และสัตว์เลื้อยคลาน ต่อถ้อยคำ คำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำ
1. เหมือนข้อ 24 ฯ 2. เหมือนข้อ 25

สรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่
ชอบใจพอจะสังหารชีวิตได้ เธอเป็นผู้กำจัดราคะ โทสะ โมหะทั้งปวงได้
หมดกิเลส เพียงดังน้ำฝาดแล้ว เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ
ควรแก่ทักขิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหา
แห่งอื่นเปรียบมิได้.

ว่าด้วยอุปมาด้วยช้าไม่ได้ฝึก


[403] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ ที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด
ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าช้างหลวง
ปูนปานกลาง ที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูน
ปานกลางล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด
ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงหนุ่ม ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ฉันใด ดู
ก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าภิกษุเถระยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละ
ลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุเถระทำกาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ถ้าภิกษุ
มัชฌิมะยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุมัชฌิมะทำกาละ
ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ถ้าภิกษุนวกะยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง ก็ถึงความนับ
ว่า ภิกษุนวกะ ทำกาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก.
[404] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง
ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ถ้าช้างหลวงปูนปานกลาง
ที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนปานกลางล้มตายไปอย่าง
ฝึกแล้ว ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้าง
หลวงปูนหนุ่มล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ฉันใด ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้น
เหมือนกันแล ถ้าภิกษุเถระสิ้นอาสวะแล้ว ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุ